กฏหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตจัดรายการชิงโชค  

การโฆษณาสินค้าหรือบริการที่มีการจัดเสี่ยงโชค

     พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478

                 มาตรา 12 ผู้ใดจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่น ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหรือรับอนุญาตแล้ว แต่เล่นพลิกแพลง

                                   หรือผู้ใดเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นอันขัดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือข้อความในใบอนุญาตผู้นั้นมีความผิดต่อไปนี้

                             (1) ถ้าเป็นความผิดในการเล่นตามบัญชี ก.หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 16 การเล่นตามบัญชี ข. หมายเลข 16 เฉพาะสลากินรวบ หรือการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกันนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง 3 ปี

                                   และปรับตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไปจนถึง 5,000 บาท ด้วยอีกโสดหนึ่ง เว้นแต่ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้า ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

                             (2) ถ้าเป็นความผิดในการเล่นอื่นใดตามพระราชบัญญัติ ต้องระวางโทษจำกคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

                  มาตรา 22 การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ

                                 ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ

                  ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

                             (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง

                             (2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกิดความจริง หรือไม่ก็ตาม

                             (3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ

                             (4) ข้อความที่จะทำให้เกิดคามแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน 

                             (5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำนดในกฎกระทรวง

                                  ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตาม (1)

      กฏกระทรวงฉบับที่ 5 (2534) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เกี่ยวกับเรื่องการเสี่ยงโชค

                   กำหนดให้ข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่าผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฏหมายว่าด้วยการพนันแล้ว หรือข้อความโฆษณาสิ้นค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่าผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการชิงรางวัลโดยข้อความโฆษณาดังกล่าวมิได้ระบุรายละเอียดดังที่กำหนดในกฏกระทรวงเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ ทั้งนี้รายละเอียดที่ต้องระบุได้แก่ (4 )

                           (ก)  หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไช หรือข้อกำหนดในการเสี่ยงโชคหรือในการประกวดชิงรางวัล

                           (ข)  วัน เดือน  ปีที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกาศชิงรางวัล เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการเสี่ยงโชค หรือประกวดชิงรางวัลนั้นจะให้ปรากฏในส่วนที่เป็นภาพหรือในส่วนที่เป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใดก้อตาม แต่ข้อความโฆษณาที่ กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนั้นจะต้องให้ปรากฏทั้งในส่วนที่เป้นภาพและส่วนที่เป็นเสียง

                           (ค)  ประเภทและลักษณะของแถมพกหรือรางวัล จำนวนและมูลค่าของแถมพก หรือรางวัลแต่ละสิ่งหรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท เว้นแต่กรณีที่การโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงหรือ วิทยุโทรทัศน์ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทก็ได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุมูลค่ารวมของแถมพกหรือรางวัลทุกประเภทไว้แทนในกรณีที่สิ่ง ซึ่งจัดเป็นของแถมพกหรือรางวัลเป็นสิ่งซึ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป และข้อความโฆษณา นั้นได้แสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงประเภทและลักษณะ ของแถมพก หรือรางวัลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของแถมพกหรือรางวัลก็ได้

                           (ง)   เขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการเสี่ยงชิงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร

                           (ฉ)   สื่อโฆษณาที่จะใช้ในการประกาศรายชื่อผู้ได้รับของแถมพกหรือรางวัลจากการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล

              

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อ้างอิง

สำนักการสอบสวนนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ( 2549 ). คู่มือการปฏิบัติงานตามกฏหมายว่าด้วยการพนัน. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย